ทุเรียนป่าละอู ทุเรียนหมอนทองป่าละอู ปี 2565
ทุเรียนหมอนทองป่าละอู หรือ ทุเรียนป่าละอู (PaLa-U Durian) คือ ทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่ปลูกในพื้นที่ ป่าละอู ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เฉพาะตัว มีรสหวาน เนื้อหนาเนียนละเอียด สีเหลืองอ่อน เนื้อแห้งมีความมันมากกว่าความหวาน กลิ่นไม่รุนแรง ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ จนได้รับการขึ้นทะเบียน GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เลขที่ 54100075
เปิดจอง ทุเรียนป่าละอู ปี 2565 คลิกเลย!
สำหรับทุเรียนป่าละอู เป็นทุเรียนพันธุ์ “หมอนทอง” พระราชทาน ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงพระราชทานให้แก่ตำรวจตระเวนชายแดนนำไปปลูกที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนกลายเป็นผลไม้ที่นิยมปลูกกันในพื้นที่ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2509 เมื่อครั้ง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ร.ร.อานันท์ ที่บ้านป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ (อ้างอิงข้อมูลจาก ryt9.com)
และต่อมาเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2520 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชประสงค์ให้ตั้ง โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ป่าเด็ง-ป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ จ.เพรชบุรี เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2520 และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทเป็นผู้บริหารโครงการในเขตแต่ละจังหวัด การดำเนินงานตามโครงการได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2520 เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน (ข้อมูลจาก prachuapkhirikhan.go.th)
ทุเรียนหมอนทองป่าละอู (Pala-u-durian)
- ชื่อไทย : ทุเรียนป่าละอู
- ชื่ออังกฤษ : Pa la-u-durian
- พันธุ์ทุเรียน : พันธุ์หมอนทอง และพันธุ์ชะนี
- ลักษณะเด่น : มีรสชาติหวาน เนื้อหนาเนียนละเอียด สีเหลืองอ่อน เนื้อแห้งมีความมันมากกว่าความหวาน กลิ่นไม่รุนแรง
- จดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ : หรือ GI ในชื่อ “ทุเรียนป่าละอู” กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา เลขทะเบียน 5410075 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554
- สถานที่เพาะปลูก : ในพื้นที่ 11 หมู่บ้านของตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ข้อมูลทั่วไป : ป่าละอู อยู่ทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อำเภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ โดยโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ ทำหน้าที่รวบรวมผลผลิตทุเรียน มีการกำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานและราคาขายเป็นมาตรฐานเดียวกัน มีสติ๊กเกอร์กำกับเพื่อบอกแหล่งผลิต วันเก็บเกี่ยว ช่วยให้คำนวนระยะเวลาที่ต้องการจะกินได้ และน้ำหนักของทุเรียนทุกลูก เพื่อสะดวกต่อการควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบย้อนกลับ
- สภาพภูมิอากาศ : สภาพทั่วไปเป็นป่าดิบชื้น มีฝนตกชุก ในฤดูฝนจะมีน้ำไหลบ่า พัดพาแร่ธาตุอาหารมาเติมให้กับพื้นที่การเกษตร เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการปลูกผลไม้ ทำให้ทุเรียนป่าละอูมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เฉพาะตัว และมีรสชาติดี จนได้รับการขึ้นทะเบียน GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
- ข้อมูลเกี่ยวกับทุเรียนป่าละอูที่ควรรู้
ลักษณะทางกายภาพ
- รูปทรง : ผลเป็นวงรีบริเวณด้านใต้ผลแหลม น้ำหนักระหว่าง 1.5 – 5 กิโลกรัม
- เปลือก : เปลือกมีสีเขียวปนน้ำตาล ปลายหนามแหลมคมมาก ร่องพูชัดเจน
- ก้านขั้ว : ค่อนข้างใหญ่ สีน้ำตาล จับดูจะรู้สึกสาก พอแก่จัดขั้วจะมีรสหวาน
- เนื้อ : เนื้อหนา สีเหลืองอ่อน เนื้อเนียน ละเอียด แก้ง มีกลิ่นอ่อน
- รสชาติ : หวาน มัน
- เมล็ด : เมล็ดลีบทำให้รู้สึกมีเนื้อหนาขึ้น
คุณค่าทางโภชนาการทุเรียนป่าละอู
ทุเรียนป่าละอู เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง สามารถช่วยลดระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้ เพราะทุเรียนสายพันธุ์นี้มีสารโพลีฟีนอล (Pholyphenols) และมีเส้นใยที่ช่วยลดไขมันได้ แต่ว่าต้องรับประทานแค่ 1 พูต่อวัน เนื่องจากทุเรียนมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระการบริโภคทุเรียนในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ เช่น โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง เป็นต้น แม้ทุเรียนจะมีไขมันมากก็ตาม แต่ก็เป็นไขมันชนิดดีที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย เส้นใยของทุเรียนมีส่วนช่วยในการขับถ่ายให้สะดวกยิ่งขึ้น
ฤดูกาลให้ผลผลิต เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม
ผลผลิตในปี 2565
- ล็อตที่ 1 รอการอัพเดท
- ล็อตที่ 2 รอการอัพเดท
- ล็อตที่ 3 รอการอัพเดท
ลักษณะการขาย กิโลกรัม
GI (Geographical Indication) คืออะไร ?
โดยสินค้าเกษตร GI คือพืชที่เป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และขึ้นทะเบียน GI (Geographical Indication) โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา แสดงถึงแหล่งเพาะปลูกที่เจาะจงแค่ที่ใดที่หนึ่ง เป็นสินค้าเด่นของชุมชน ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าการเกษตร ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้มุ่งเน้นในการพัฒนาคุณภาพผลผลิตเพื่อให้สินค้าของเกษตรกรกลายเป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพและรสชาติของผลไม้ไทย