กล้วยน้ำว้า

สวนกล้วย

ต้นกล้วย                                                                           ผลกล้วย

กล้วยน้ำว้า

ลักษณะเด่น เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคกันอย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี สำหรับกล้วยน้ำว้าแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามสีของเนื้อ คือ น้ำว้าแดง น้ำว้าขาว และน้ำว้าเหลือง คนไทยรับประทานกล้วยน้ำว้าทั้งผลสด ต้ม ปิ้ง และนำมาประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังมีกล้วยน้ำว้าดำ ซึ่งเปลือกมีสีครั่งปนดำ แต่เนื้อมีสีขาว รสชาติอร่อยคล้ายกล้วยน้ำว้าขาว สำหรับกล้วยตีบเหมาะที่จะรับประทานผลสด เพราะเมื่อนำไปย่าง หรือต้มจะมีรสฝาด

สถานที่เพาะปลูก อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา

ระยะทางจากสวนถึงกทม. ประมาณ 260 กิโลเมตร

พันธุ์ที่ใช้ปลูก

  • ปากช่อง 50
  • กาบขาว

ซื้อต้นพันธุ์มาจาก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

พื้นที่ปลูก 50 ไร่

1. กล้วยหอมทอง
2. กล้วยน้ำว้า

  •  ปากช่อง 50
  •  กาบขาว

3. กล้วยไข่
4. ไข่เบา

ระยะเวลาการปลูก 12-13 เดือน

ระยะเวลาตั้งแต่ออกปลี 3 เดือน

กล้วย 1 หวี มีกล้วยประมาณ 20 ลูก

ระยะการสุกของกล้วยน้ำว้า

  • ระยะที่ 1 ผลแข็ง เป็นเหลี่ยมชัดเจน เปลือกสีเขียว ทิ้งไว้จะไม่สุก
  • ระยะที่ 2 ผิวเปลือกเริ่มเปลี่ยนสีจากสีเขียวออกเหลืองเล็กน้อย
  • ระยะที่ 3 ผิวเปลือกเปลี่ยนสีเป็นเหลืองมากขึ้น แต่ยังมีสีเขียวมากกว่า
  • ระยะที่ 4 ผิวเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองมากขึ้น และมีสีเหลืองมากกว่าสีเขียว
  • ระยะที่ 5 ผิวเปลือกบริเวณต้นผลเป็นสีเหลือง ส่วนปลายผลเป็นสีเขียว
  • ระยะที่ 6 ผิวเปลือกทั่วผลจะมีสีเหลืองทั้งหมด เป็นระยะผลสุกพอดี แต่ยังไม่มีกลิ่น
  • ระยะที่ 7 ผิวเปลือกมีสีเหลือง และเริ่มมีจุดสีดำหรือน้ำตาล เป็นระยะผลสุกเต็มที่ และเริ่มมีกลิ่นหอม
  • ระยะที่ 8 ผิวเปลือกมีสีเหลือง และมีสีดำหรือน้ำตาลกระจายทั่วผล เป็นระยะที่ผลสุกมากเกินไป เนื้อกล้วยจะอ่อนนิ่ม มีกลิ่นแรง และจะเริ่มเน่าภายใน 2-3 วัน

สรรพคุณเด่นของกล้วยน้ำว้า

  1. แก้โรคกระเพาะ นำกล้วยน้ำว้าดิบ (ถ้าเป็นกล้วยกักมุกดิบจะดีกว่า) มาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ตากแดด 2 วันให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียดใช้รับประทาน ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว น้ำผึ้ง (น้ำธรรมดาก็ได้) รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง และก่อนนอนทุกวัน
  2. แก้ท้องผูก ให้รับประทานกล้วยน้ำว้าสุกงอม ครั้งละ 2 ผล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 1/2 ชั่วโมง เวลารับประทานควรเคี้ยวให้ละเอียดที่สุด
  3. แก้ท้องเดิน ใช้เนื้อกล้วยน้ำว้าห่ามรับประทานหรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบฝานเป็นแว่นตากแห้งรับประทาน

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า

  • น้ำ 75.7 กรัม
  • พลังงาน 85 แคลอรี่
  • โปรตีน 1.1 กรัม
  • ไขมัน 0.2 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 22.2 กรัม
  • เถ้า 0.8 กรัม
  • แคลเซียม (Ca) 8.0 กรัม
  • เหล็ก (Fe) 0.7 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม (K) 370 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม (Mg) 33 มิลิกรัม
  • วิตามินเอ 190 IU
  • วิตามินซี 10 มิลลิกรัม
  • ไทอามีน (Thiamine) 0.05 มิลลิกรัม
  • ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) 0.06 มิลลิกรัม
  • ไนอาซีน (Niacin) 0.7 มิลลิกรัม